การอนุรักษ์ปะการัง
1.ทำการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในแนวปะการัง
พร้อมทั้งจัดทำแผนที่รายละเอียดแสดงบริเวณปะการัง ซึ่งแบ่งเป็น 4 เขต ได้แก่
เขตการดูแลของท้องถิ่น เขตการใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ
เขตอนุรักษ์เพื่อความสมดุลของระบบนิเวศ และการวิจัย โดยกำหนดมาตรการในการบริหารการจัดการปะการังในแต่ละเขต เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และควบคุมการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับมาตรการที่กำหนดไว้
2.ประชาสัมพันธ์ให้มีการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรปะการัง โดยให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้และคุณค่าของปะการังให้กับบุคคลทุกประเภท
ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ในการป้องกันและฟื้นฟูปะการัง
3.มาตรการการจัดการที่เหมาะสม
เช่นการออกกฎหมายเพิ่มโทษแก่ผู้ทำลายปะการัง
4.ลดการใช้ประโยชน์แนวปะการังให้น้อยที่สุดเช่น
การจับสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปลาสวยงาม การเก็บปะการัง การยืนและเดินบนปะการังของนักดำน้ำ
ฯลฯ
5.หน่วยงานภาครัฐต้องเปิดโอกาสและสนับสนุนให้ประชาชนมีบทบาทในการอนุรักษ์ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอย่างจริงจัง
แนวทางที่ประชาชนสามารถร่วมมือทำได้อย่างเป็นรูปธรรมไม่ทิ้งสมอลงในแนวปะการัง
ใช้ทุ่นผูกเรือในแนวปะการัง ไม่ทิ้งเศษซากอวนลงในทะเล
ไม่เดินเหยียบย่ำบนแนวปะการัง ไม่ปล่อยน้ำเสียลงในแนวปะการัง
ทำการประมงอย่างถูกวิธีโดยไม่ส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง ไม่มีการลักลอบเก็บปะการัง
6.นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปต้องไม่ทิ้งขยะและเศษสิ่งของลงท้องทะเล
การฟื้นฟูปะการัง
แนวปะการังในหลายพื้นที่สามารถฟื้นตัวเองได้ตามธรรมชาติ
ถ้าหากไม่มีสิ่งรบกวน ปะการังก็สามารถแตก-หน่อเจริญเติบโตแพร่ขยายในพื้นที่นั้นได้
อย่างไรก็ตาม
ในพื้นที่บางแห่งการฟื้นตัวของแนวปะการังตามธรรมชาติอาจเกิดขึ้นได้ช้า เนื่องจากมีปัจจัยทางด้านกายภาพและชีวภาพรวมถึงกิจกรรมต่างๆ
ที่เกิดจากมนุษย์ขัดขวาง เช่น กิจกรรมการพัฒนาชายฝั่งที่ทำให้เกิดตะกอน
การท่องเที่ยว เป็นต้น
ดังนั้นในพื้นที่แนวปะการังเสื่อมโทรมบางแห่งจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูโดยมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง
การฟื้นฟูปะการังที่ดำเนินการกับแนวปะการังโดยตรง แบ่งได้เป็น
1.การฟื้นฟูทางกายภาพ
(Physical restoration) เป็นการปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการฟื้นตัวของปะการัง
ได้แก่
-การปรับพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปให้เหมาะสมต่อการฟื้นตัวตามธรรมชาติของปะการัง เช่น การที่นักดำน้ำร่วมกันพลิกปะการังที่ล้มคว่ำให้กลับสู่สภาพที่จะเจริญเติบโตได้ต่อไปตามธรรมชาติ
การเก็บขยะในแนวปะการัง
นับเป็นการฟื้นฟูรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ปะการังสามารถดำรงชีวิตและเติบโตต่อไปได้ตามธรรมชาติ
-การเสริม “พื้นแข็ง” ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการฟื้นฟูแนวปะการัง
กรณีนี้เหมาะสมที่จะทำในพื้นที่ที่ถูกทำลายจนกระทั่งซากปะการังแตกหักป่นจากแรงระเบิด
หรือซากปะการังถูกพายุซัดขึ้นไปกองอยู่บนหาด เหลือแต่พื้นทรายไว้ มีการทดลอง
หล่อท่อคอนกรีตจัดเป็นรูปทรงหมอนสามเหลี่ยมวางในแนวปะการัง
พบว่าภายในระยะเวลาประมาณ 7 ปี
ปะการังสามารถเจริญเติบโตบนพื้นคอนกรีตนั้นได้ดี วิธีนี้เหมาะกับบริเวณที่ขาดพื้นที่ที่มั่นคงสำหรับตัวอ่อนปะการังในธรรมชาติที่จะลงเกาะและเจริญเติบโต
และพบว่าหากพื้นที่ะมีจำนวนโคโลนีของปะการังที่ลงเกาะมากปะการังจะเริ่มลงเกาะบนแท่งคอนกรีตที่วางไว้นานประมาณปีเศษๆ
และจะค่อยๆ มีการเติบโตของปะการังที่ลงเกาะจนกระทั่งครอบคลุมพื้นที่ลงเกาะทั้งหมดและอาจขยายไปบนพื้นที่ในธรรมชาติรวมทั้งมีการพัฒนาของประชาคมปลาใกล้เคียงกับแนวปะการังธรรมชาติในบริเวณเดียวกันวิธีนี้เป็นวิธีที่เห็นผลค่อนข้างช้า
มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูง ชนิดและจำนวนปะการังที่ลงเกาะจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
แต่มีข้อดีคือมีความหลากหลายของชนิดปะการังคล้ายกับที่มีอยู่ในธรรมชาติ
จึงมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้มากกว่าการย้ายปลูกปะการังซึ่งมีปะการังชนิดเด่นๆ
เพียงชนิดเดียวหรือไม่กี่ชนิดการฟื้นฟูแนวปะการังโดยวิธีใดๆ
ก็ตามจำเป็นจะต้องศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของปะการัง
รูปร่างของพื้นที่ลงเกาะที่เหมาะสม
รวมทั้งสภาพคลื่นลมและพื้นท้องทะเลบริเวณที่จะจัดวางมากพอสมควร
เพื่อให้การฟื้นฟูประสบผลสูงสุด
กิจกรรมการฟื้นฟูแนวปะการังดังกล่าวข้างต้นเป็นการสร้าง
”แนวปะการังแท้” แต่ก็ยังมีกิจกรรมอีกประเภทหนึ่งที่เป็นการสร้าง
“แนวปะการังเทียม” ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้พื้นที่นั้นมีความอุดมสมบูรณ์ในแง่เป็นแหล่งพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อการประมงพื้นบ้านเป็นหลัก
ก่อเกิดเป็นระบบนิเวศที่ก่อตัวขึ้นใหม่โดยที่มนุษย์ได้เข้าไปเริ่มเสริมสร้างให้ในขั้นแรก ซึ่งหากระยะเวลาผ่านไปนานขึ้น
จะทำให้มีความหลากหลากของสัตว์ต่างๆ เพิ่มขึ้น ทั้งในแง่ชนิดและจำนวน
สัตว์เหล่านี้เป็นแหล่งดึงดูดให้สัตว์น้ำจำพวกปลาให้เข้ามาอาศัยหรือเข้ามาหาอาหารเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งทำการประมงพื้นบ้านก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชนในท้องถิ่นและเป็นการลดการทำลายทรัพยากรจากเรืออวนลากแล้ว
ยังเป็นแหล่งที่มาของรายได้จากการท่องเที่ยว ดำน้ำ
และตกปลาสำหรับนักท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง
และคาดว่าในอนาคตในพื้นที่อีกหลายแห่งยังสามารถจมซากเรือเพื่อใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำ
ทดแทนแนวปะการังตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
ในบางครั้งการฟื้นฟูทางกายภาพเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอที่จะทำให้การฟื้นตัวของแนวปะการังเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ
โดยไม่จำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการฟื้นฟูทางชีวภาพต่อไป
2.การฟื้นฟูทางชีวภาพ
(Biological restoration) เป็นการฟื้นฟูที่ตัวปะการังโดยตรง
ซึ่งวิธีที่ดำเนินการในปัจจุบัน
ได้แก่การย้ายปะการังบางส่วนจากแหล่งที่มีความสมบูรณ์ไปยังบริเวณที่ต้องการฟื้นฟู
โดยมีหลักสำคัญคือต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริเวณที่เป็นแหล่งพันธุ์ (donor
reef area) ซึ่งการฟื้นฟูวิธีนี้ในประเทศไทยมีวิธีดำเนินการหลากหลายรูปแบบเช่น
-การย้ายปลูกปะการังเป็นวิธีการฟื้นฟูแนวปะการังวิธีหนึ่ง การรอดและการเจริญเติบโตของปะการังดังกล่าวแตกต่างกันไปขึ้นกับสภาพแวดล้อมของแต่ละบริเวณ
วิธีนี้เหมาะสมกับพื้นที่สิ่งแวดล้อมเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปะการังแต่ยังขาดตัวอ่อนหรือเศษของปะการังที่มีชีวิตที่จะสามารถเติบโต
ต่อไปในบริเวณนั้น
โดยทั่วไปเป็นการย้ายปะการังเพียงไม่กี่ชนิดที่มีความทนทานต่อการย้ายและเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วในพื้นที่ที่ต้องการฟื้นฟูอย่างรวดเร็วและเห็นผลชัดเจนในเวลาสั้นๆ
บริเวณดังกล่าวจะต้องมีพื้นท้องทะเล และกระแสน้ำไม่แรงจนเกิดไป
ตลอดจนมีสภาพแวดล้อมอื่นๆ เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของปะการัง
แต่การย้ายปะการังเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง
ทำให้สังคมปะการังที่เกิดขึ้นประกอบด้วยปะการังที่ทำการย้ายเพียงชนิดเดียว
แตกต่างกับแนวปะการังที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
ซึ่งจะมีปะการังหลายชนิดขึ้นอยู่ปะปนกันก่อให้เกิดเป็นสังคมปะการังที่ซับซ้อน
How to get to Betway Casino - DrmCAD
ReplyDeleteDirections 부천 출장안마 to 전라북도 출장샵 Betway Casino 광명 출장안마 (Dorado Rd), Corning, CA. 익산 출장마사지 The following transit lines have 김포 출장샵 routes that pass near Betway Casino.