Monday, January 4, 2016

3. การสืบพันธุ์ของปะการัง

ปะการังเป็นสัตว์ที่สามารถสืบพันธุ์ได้ 2 แบบ คือ แบบไม่อาศัยเพศและอาศัยเพศ
1.การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
กลุ่มของปะการังนั้นเริ่มต้นการมีชีวิตโดยการเป็นตัวอ่อนที่เรียกว่า พลานูลา (planulae) ซึ่งเป็นผลผลิตจากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของปะการัง  ตัวอ่อนนี้สามารถเคลื่อนที่ออกห่างจากกลุ่มปะการังพ่อแม่พันธุ์  มันอาจจะลงเกาะที่บริเวณอีกด้านหนึ่งของแนวปะการัง หรืออาจลงเกาะในแนวปะการังแหล่งอื่นก็ได้  เมื่อตัวอ่อนพบแหล่งอาศัยที่เหมาะสมมันจะลงเกาะบนพื้นล่าง หลังจากนั้นมันจะพัฒนาเป็นเซลล์เดี่ยวของปะการังที่เรียกว่าโพลิป เซลล์โพลิปจะเริ่มสร้างโครงร่างแข็งและแตกหน่อโพลิปใหม่หลาย ๆ อัน  แล้วกลุ่มปะการังกลุ่มใหม่ก็เริ่มเติบโต 



เซลล์สืบพันธุ์ของปะการังคือเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ และ ไข่ ส่วนโพลิปที่สามารถผลิตได้ทั้งเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และไข่ ปะการังตัวนั้นเรียกว่า hermaphrodite หรือเป็นกะเทยนั่นเอง แต่ถ้าหากว่าโพลิป สร้างไข่ หรือสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ปะการังตัวนั้นเรียกว่า dioecious
 โพลิปจำนวนมากของปะการังจะปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกมาทางปากของมันออกสู่ในมวลน้ำ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า การออกไข่  เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้จะผสมกับไข่นอกตัวปะการัง  การผสมพันธุ์นอกตัวนี้เรียกว่าการผสมภายนอก ปะการังที่มีการสืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกนี้เรียกว่า spawners



นอกจากนี้ยังมีการผสมพันธุ์อีกวิธีหนึ่งคือไข่จะผสมพันธุ์ภายใน โพลิปของปะการัง ซึ่งเรียกว่าการผสมพันธุ์ภายใน ปะการังที่มีการผสมพันธุ์ภายในตัวนี้จะเรียกว่า brooders
ตัวอ่อนที่เกิดจากการออกไข่ของปะการังนั้นจะมีการพัฒนาในน้ำ มันจะถูกพัดพาไปตามกระแสน้ำ ในเวลาเดียวกันมันก็จะลงเกาะในแนวปะการัง ซึ่งบางครั้งก็จะลงเกาะห่างจากที่มันเกิดหลายกิโลเมตร ปัจจุบันพบว่าปะการังจำนวนมากจะปล่อยไข่ในเวลาเดียวกัน  ในช่วงไม่กี่วันของแต่ละปี  การปล่อยไข่ออกมาพร้อมกันนี้ทำให้มีเซลล์สืบพันธุ์ของปะการังลอยอยู่ในน้ำจำนวนมาก ซึ่งเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และไข่มีโอกาสผสมพันธุ์กันง่ายขึ้น และมากขึ้นและยังลดอัตราการตายจากการถูกกินโดยศัตรูอีกด้วย ส่งผลให้มีอัตราการรอดมากขึ้น

สำหรับปะการังที่มีการผสมพันธุ์ภายในตัวนั้น ตัวอ่อนจะมีการพัฒนาและว่ายน้ำหาที่เหมาะสมลงเกาะ บางครั้งตัวอ่อนจะว่ายน้ำเพียงระยะสั้น ส่วนมากจะลงเกาะห่างจากกลุ่มพ่อแม่ไม่เกินหนึ่งเมตร




2. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของปะการังนั้นเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของการสร้างปะการังกลุ่มใหม่   ที่เรียกว่าการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ  เนื่องจากว่าไม่มีการผลิตเซลสืบพันธุ์และไม่มีการผสมพันธุ์  ดังนั้นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศนี้  ปะการังกลุ่มใหม่ที่เกิดขึ้นมาจะมีพันธุกรรมเหมือนกับพันธุกรรมของกลุ่มพ่อแม่  และลูกปะการังที่เกิดใหม่นี้ไม่สามารถคลื่นที่ไปไกลจากบริเวณที่พ่อแม่อยู่ได้   ตัวอ่อนที่เกิดขึ้นมานั้นมักจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวอ่อนที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  

          กระบวนการ fragmentation หรือการหักกิ่ง (branch-breakage) นั้นเป็นวิธีที่พบเห็นบ่อยในแนวปะการัง ปะการังกิ่งที่บอบบางนั้นง่ายต่อการแตกหักจากแรงคลื่น สัตว์น้ำ หรือการกระทำของมนุษย์  ซึ่งปะการังชิ้นที่แตกหักนั้นประกอบด้วยตัวปะการังจำนวนมาก ถ้าหากว่าสภาพแวดล้อมเหมาะสม ปะการังที่แตกหักเหล่านี้จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แม้อยู่ห่างจากกลุ่มพ่อแม่  




การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศนี้มักจะเป็นการสร้างกลุ่มประชากรหลักของปะการังขึ้นมา ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถเพิ่มจำนวนปะชากรได้อย่างรวดเร็ว  ปะการังที่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศนี้จะมีอายุสั้นมากกว่าปะการังที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ   การกระจายตัวของปะการังที่สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศมักจะกระจายเป็นกลุ่มๆ ในขณะที่พวกอาศัยเพศกระจายอยู่ทั่วไปและไกลกว่า

รูปแบบและการแพร่กระจายของปะการังในประเทศไทย

         1. กลุ่มปะการัง (Coral Community) เป็นบริเวณที่มีก้อนปะการังกระจายอยู่ตามพื้น จะไม่พบหินปูนที่เกิดจากการสะสมทับถมกันของปะการังได้เด่นชัด ความลาดชันของพื้นเป็นไปตามลักษณะของชายฝั่ง มิใช่เกิดจากการสร้างแนวปะการังการแพร่กระจายของปะการังจึงเป็นไปตามลักษณะฝั่ง จะพบกลุ่มปะการังในบริเวณที่มีพื้นแข็ง เช่น บริเวณที่มีโขดหิน บริเวณข้างเกาะเป็นต้น



         2. แนวปะการัง (Coral Reef) บริเวณนี้จะเห็นการสะสมตัวของหินปูนที่เกิดจากปะการัง ซึ่งตายทับถมอยู่ด้านล่างของปะการังมีชีวิตชัดเจน โดยทั่วไปแนวปะการังนี้มักจะอยู่ห่างจากชายฝั่งออกมา โดยมีชายหาดด้านในเป็นพื้นทราย ถัดออกมาก็จะพบแอ่งน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งมีปะการังอยู่ประปรายในบริเวณที่น้ำไม่ลึกนัก เรียกว่า Reef Flat เวลาน้ำลงมากๆ ปะการังจะโผล่เหนือน้ำเล็กน้อยเป็นสาเหตุที่ด้านบนผิวหน้าของปะการังจะตายแล้ว จึงมาถึงแนวปะการัง ซึ่งมีปะการังขึ้นทับถมกันมากมาย เป็นบริเวณที่มีพลังงานหมุนเวียนมาก เพราะในบริเวณนี้จัดได้ว่าเป็นบริเวณ ปะทะคลื่น (Wave Front)


No comments:

Post a Comment